มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมปักธง ผนึกกำลังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา (บพค.) เพื่อพัฒนากลไกการยกระดับงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมปักธง ผนึกกำลังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา (บพค.) เพื่อพัฒนากลไกการยกระดับงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

❇️ วันที่ 14 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมตะวัน กังวานพงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายธรรมนูญ น่วมอนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย และรองศาสตราจารย์ ดร.นพพล เล็กสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานวิจัย ให้การต้อนรับ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่ รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รองผู้อำนวยการ สกสว. และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม(บพค.) นำโดย ดร.ภารวี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ในโอกาสเข้าเยี่ยมและติดตามทิศทางการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund : SF) จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
❇️ ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอระบบและกลไกการบริหารงานวิจัยและภาพรวมการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน บพค. พร้อมทั้งนำเสนอผลงานเด่นและความพร้อมของ มช. ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รองรับการทำวิจัย
หลังจากนั้นได้มีการนำเสนอโครงการสำคัญ 5 โครงการ คือ
✨1. โครงการเครือข่ายการบ่มเพาะบุคลากรวิจัยที่มีสมรรถนะสูงระดับหลังปริญญาเอก หลังปริญญาโทด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจบีซีจี ปีที่ 3 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยสิทธิ์ บรรจงประเสริฐ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
✨2. โครงการยกระดับศักยภาพนักวิจัยสมรรถนะสูงในหน่ายงานภาครัฐหรือเอกชนทางด้าน ทางด้านจีโนมิกส์ และชีวสารสนเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างงานวิจัยทางการแพทย์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ. ดำเนินสันต์ พฤกษากร คณะแพทยศาสตร์
✨3. โครงการ การสังเกตและพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศเพื่อลดผลกระทบต่อเทคโนโลยีการสื่อสารและอุตสาหกรรมอวกาศ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิรามาศ โกมลจินดา คณะวิทยาศาสตร์
✨4. โครงการ “แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างทักษะแห่งอนาคต (Future-proof Skills) ในการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นัทธี สุรีย์ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต
✨5. โครงการ Chiang Mai University Semiconductor Education Center (CMUSEC) โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อุกฤษฏ์ มั่นคง คณะวิศวกรรมศาสตร์
👉 นอกจากนี้ยังได้นำทีมนักวิจัยจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยเด่น 6 ผลงาน ดังนี้
✨1. โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะสมรรถนะทางสะเต็มและโคัดดิ้ง ด้วยการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับมหาชนและค่ายนวัตกรรมเพื่อสร้างสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการในระดับนักเรียนมัธยมต้น โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุทธิดา จำรัส คณะศึกษาศาสตร์
✨2. โครงการเทคโนโลยีลำอนุภาคและพลาสมาเพื่องานวิจัยและการประยุกต์ทางวัสดุศาสตร์ การแพทย์ และการเกษตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล คณะวิทยาศาสตร์
✨3. โครงการ Erasmus + Tourism-Zero in the hospitality and tourism sector โดย กลุ่มวิจัย Innovative research and Computational Science
✨4. โครงการ Advancing Antibody Engineering for a Sustainable Thailand โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชัชชัย ตะยาภิวัฒนา คณะเทคนิคการแพทย์
✨5. โครงการ การวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์จากสมุนไพรสู่เชิงพาณิชย์ โดย คณะเภสัชศาสตร์
✨6. โครงการ ภาพรวมโครงการที่ได้ CMU-RL โดย คณะสังคมศาสตร์
📌ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ มีอยู่ รองผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า “สกสว. มีบทบาทในการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ บนฐานองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีแผนและงบประมาณเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ด้านเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งใช้ SRI for ALL ด้วยการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ ภายใต้กลยุทธ์ SILK ด้วยการสานพลังภาคีเครือข่าย ยกระดับระบบ ววน.ให้มีประสิทธิภาพโปร่งใส มุ่งเน้นส่งเสริมการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และการสร้างระบบ/แพลตฟอร์ม เพื่อนำองค์ความรู้ของระบบ ววน. ไปใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง”