สบว. ร่วมกิจกรรมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2568

สบว. ร่วมกิจกรรมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2568

สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.นพพล เล็กสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานวิจัย รวมทั้งบุคลากร สำนักงานฯ เข้าร่วมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2568
โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับอธิการบดี/รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้บริหารระดับคณบดี/หัวหน้าส่วนงาน/รองหัวหน้าส่วนงาน/ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนงาน หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา และรองหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่าภาควิชา เลขานุการส่วนงาน ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย/ผู้อำนวยการกอง/ศูนย์/สำนักงานในสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานการตรวจสอบภายใน หัวหน้าสำนักงานสภามหาวิทยาลัย กว่า 500 คน ร่วมการสัมมนาฯ ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมเดอะริเวอร์รี บายกะตะธานี อ.เมือง จ.เชียงราย
🪧ทั้งนี้ ในวันที่ 24 พฤษภาคม รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี นำเสนอผลลัพธ์การต่อยอดโครงการ Chiang Rai Initiative 2024 สู่ความสำเร็จ ภายใต้หัวข้อ RESEARCH FOR ALL (A8, A10, A11) CMU Climate Task Force: Mitigation and Adaptation ซึ่งสะท้อนการทำงานที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมลพิษทางอากาศและการบริหารจัดการน้ำแบบมุ่งเป้าและบูรณาการ ภายใต้การทำงานผ่าน CMU Consortiums โดยการถอดบทเรียนและรวมกลุ่มทำงานแบบบูรณาการในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศและโลก โดยเฉพาะปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ และการบริหารตัดการน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสำคัญประเทศในปัจจุบัน โดยนำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่มีอยู่ ผนวกเป็นความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การต่อยอดและใช้ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา พร้อมนำทีมเจ้าหน้าที่จัด Workshop ในหัวข้อ “PM 2.5 & Water Management” เพื่อร่วมหารือการดำเนินงานแบบบูรณาการระดมความคิดเห็น รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเทคโนโลยี เพื่อนำไปต่อยอดสู่ต้นแบบ และมีการขยายผลไปใช้ในการแก้ไขปัญหาได้จริงในชุมชน
.
จากการ Workshop ดังกล่าว ทำให้เกิดแผนงานที่สอดคล้องกับนโยบายของการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ (Action Plan : AP) ในมิติทั้ง 5 ด้านของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสรุปได้ดังนี้
🔑 AP1 Research: ดำเนินงานผ่าน Consortium: Climate Crisis ผ่านโครงการสนับสนุนทุนวิจัยต่างๆ เช่น ทุนสนับสนุน งานวิจัย PM2.5 และมลพิษอื่นๆ เช่น สำรวจปัญหาสุขภาพ เลือกชุมชนต้นแบบพร้อมแบ่งกลุ่มความยากง่าย เพื่อพัฒนาระบบ CMU Health เชื่อมต่อข้อมูลฝุ่น-สุขภาพ และ CMU Data Driven Policy การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้าน Health Impact พัฒนาแผนรับมือภัยพิบัติ
🔑 AP2 Stewardship: พัฒนาต้นแบบหรือระบบ เพื่อขยายผลการใช้ในชุมชน เช่น การพัฒนาระบบการเตรียมชีวมวลให้คุ้มค่ากับการขนส่ง Model ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำจังหวัดเชียงใหม่ โครงการต้นแบบ City Resilience และ Sponge City
🔑AP3 Outreach: การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่พื้นที่เร่งด่วน มีการใช้งาน ติดตามผล และประเมินผล และนำ Feedback กลับมาเป็นโจทย์ในการพัฒนาขั้นสูง เช่น ระบบแจ้งเตือน Early Warning Health Alert System สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรค NCD โดยตรง อุปกรณ์ Personalized PM2.5 Detector ระบบการ Integrated Real Time Data เข้ากับระบบเตือนภัยน้ำท่วม ฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับน้ำ
🔑AP4 Education: จัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรรองรับการบริหารจัดการ PM2.5 และ Water Management ทั้งภาคปกติและนานาชาติ เช่น การพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ เช่น การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ
🔑AP5 Inclusive Education: แผนการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย ได้แก่ หลักสูตรระยะสั้นการจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง
.
กิจกรรมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารในแต่ละระดับในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทราบถึงทิศทางและนโยบายของการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ในมิติทั้ง 5 ด้าน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รับฟังข้อเสนอแนะ และการต่อยอดสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ จากมหาวิทยาลัยไปยังส่วนงานจนไปถึงระดับภาควิชาหรือหน่วยงานในสังกัดส่วนงาน ต่อไป
.
.
ข่าวโดย : สำนักงานบริหารงานวิจัย มช.