สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับคณะทำงานจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd Trilateral Symposium on Sustainability (Strategies for Climate Action and Mitigation of Climate Change Impacts) กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ เชียงใหม่

สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับคณะทำงานจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd Trilateral Symposium on Sustainability (Strategies for Climate Action and Mitigation of Climate Change Impacts) กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ เชียงใหม่

     มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นำโดย รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล ผู้ช่วยอธิการบดี รศ. ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วย นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย รศ. ดร.นพพล เล็กสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ รศ. ดร.อภินภัส รุจิวัตร์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารงานวิจัย และคณะทำงานการจัดประชุมฯ ได้ประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมระดับนานาชาติดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือจาก 3 มหาวิทยาลัยกล่าวคือ 1) Chiang Mai University 2) Kagawa University และ 3) National Chaiyi University ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมผู้บริหาร 2 ชั้น 2 สำนักงานมหาวิทยาลัย
     การประชุมฯ จะจัดให้มีการนำเสนอผลงานทั้งในรูปแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ ภายใต้ 6 Sessions หลัก รวมถึงกิจกรรมส่งเสริม SDGs ภายใต้ Student Session พร้อมรายนาม Program Coordinator ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังต่อไปนี้
✨ Health Session
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย
✨ Science and Technology Session
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ บรรจงประเสริฐ
✨ Food Session
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล
✨ Social Session
รองศาสตราจารย์ ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์
✨ Tourism Session
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์
✨ Climate Action Session
รองศาสตราจารย์ ดร.อภินภัส รุจิวัตร์
✨ Student Session
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.วรกัญญา บูรณพัฒนา
ร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพร่วมในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่
1) สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์
2) ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ
3) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา
5) สถาบันวิจัยพหุศาสตร์
6) ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์
     การจัดประชุมในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 3 มหาวิทยาลัย ในการสร้างเครือข่ายรวมถึงต่อยอดงานวิจัยให้ก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานร่วมกับนักวิชาการระดับแนวหน้าของ 3 มหาวิทยาลัย โดยคาดว่าจะมี จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประมาณ 200 คน ข่าวโดย สำนักงานบริหารงานวิจัย มช.
.
.
ข่าวโดย สำนักงานบริหารงานวิจัย มช.