ผสานกำลังขับเคลื่อน และส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในประเทศ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ “การประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9”

ผสานกำลังขับเคลื่อน และส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในประเทศ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ “การประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9”

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม และหน่วยงานเครือข่ายกว่า 19 หน่วยงาน จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 9 (The 9th Engagement Thailand Annual Conference 2024 Driving Society Engagement Innovation toward Sustainability) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
✨วันที่ 5 มิถุนายน 2567 ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการ Pre-conference Workshops Social Return on Investment (SROI) & Sustainable Development Goals (SDGs) โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจได้แก่
🗣️อบรมเชิงปฏิบัติการ Introduction to SDG Impact Standard โดย ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยพงศ์ เนียมทรัพย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ (Accredited SDG Impact Standard Trainer)
🗣️อบรมเชิงปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อมของโครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อพันธกิจสัมพันธ์กับสังคมสู่ความยั่งยืนในการดำเนินการ Social Return on Investment (SROI) : โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บุญเชียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นาคเสน และ อาจารย์ ดร.นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์
🗣️อบรมเชิงปฏิบัติการ SDG IMPACT MEASUREMENT AND MANAGEMENT (IMM) : โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ และ อาจารย์ ดร.ศศิพัชร์ ชัยสิริบดินทร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
🗣️อบรมเชิงปฏิบัติการ From Research to Impact – การประยุกต์ใช้แนวคิด SROI และ SDG สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของผลงานวิจัย และผลงานนวัตกรรม : นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย เลขานุการคณะทำงานฯ ขับเคลื่อน SDGs มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) อาจารย์ ดร.ทศพร คิวประสพศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาวนา เพชรรัตน์ อาจารย์ ดร.ทศพร คิวประสพศักดิ์ และ อาจารย์ ดร.ชนามาศ อินต๊ะปัน คณะเศรษฐศาสตร์
💐วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล นายกสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม กล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี มช. กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
โดยกิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นการขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในประเทศ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ได้ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการนำภารกิจของมหาวิทยาลัยไปดำเนินงาน ด้าน Engagement เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกให้กับบุคลากรได้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย Local Engagement ของมหาวิทยาลัย สู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้รูปแบบการจัดประชุมวิชาการ ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการเสวนาวิชาการ อาทิ
📌 ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ University Engagement & Sustainable Development โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
📌 การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Carnegie Classification for Community Engagement” โดย Ms.Mitra Gusheh
Executive Manager, Community Engagement and Impact, Centre for Social Justice and Inclusion, University of Technology Sydney, Australia
📌 การเสวนาวิชาการ หัวข้อ Climate Crisis and University Engagement: A Case Study on PM2.5 โดยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาค
📌 การเสวนา เรื่อง “10 ปี การพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม: ประสบการณ์ตรงจาก 4 มหาวิทยาลัยและสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม”
นอกจากนี้ยังมีโซนจัดแสดงนิทรรศการและโปสเตอร์ผลงานด้านวิชาการรับใช้สังคมจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายกว่า 36 ผลงาน
✨วันที่ 7 มิถุนายน 2567 พิธีส่งมอบธงเจ้าภาพ
ก่อนเริ่มพิธีส่งมอบธงเจ้าภาพ ได้มีการกล่าวคำไว้อาลัยแด่ ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตผู้ก่อตั้งสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม และเป็นผู้มีคุณูปการแก่แวดวงการศึกษาและการทำงานเพื่อสังคมอย่างสูง
และพิธีส่งมอบธงการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ให้แก่เจ้าภาพในปีถัดไป ซึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 10 ในการส่งมอบธงมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ส่งมอบให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล นายกสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม และผู้เข้าร่วมประชุม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฯ
ในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ได้มีการนำเสนอผลงานแบบบรรยายกว่า 100 ผลงาน ใน 4 Sessions และ 2 Special Sessions ดังนี้
– BCG Engagement
– Health & Well-being Engagement
– Culture & Art Engagement
– Innovation for Society
– Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (RSPG) (อพ.สธ.)
– A Case Study with Carnegie Classification for Community Engagement
🚗วันที่ 8 มิถุนายน 2567 ส่งท้ายงานประชุมวิชาการด้วยกิจกรรม การศึกษาดูงานด้านวิชาการรับใช้สังคมผ่านการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานวิชาการเพื่อสังคม รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ในพื้นที่จริง 4 เส้นทาง ได้แก่
– ROUTE 1️⃣ : BCG Engagement โดยคณะเกษตรศาสตร์
– ROUTE 2️⃣: Health & Well-being Engagement โดยคณะเทคนิคการแพทย์
– ROUTE 3️⃣ : Culture & Art Engagement โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
– ROUTE 4️⃣: Innovation for Society โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
.
.
ข่าวโดย สำนักงานบริหารงานวิจัย มช.

ภาพ : สำนักงานบริหารงานวิจัย มช., ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ และ สำนักบริการวิชาการ มช.