สมาคมวิจัยวัสดุ ประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าว “รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ” ประจำปี 2565

สมาคมวิจัยวัสดุ ประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าว “รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ” ประจำปี 2565

 สมาคมวิจัยวัสดุ ประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าว “รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ” ประจำปี 2565 (Thailand Materials Researcher Award 2022)

 

 

โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. นพ. พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ แม้นศิริ นายกสมาคมวิจัยวัสดุ กล่าวถึงประวัติสมาคมวิจัยวัสดุ ประเทศไทย และที่มาของรางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี พ.ศ. 2565 ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ประธานคณะกรรมการพิจารณารางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่
สำหรับรางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี พ.ศ. 2565 เป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดยสมาคมวิจัยวัสดุ
ประเทศไทย โดยได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยวัสดุ ประจำปี 2565 จำนวน 6 ท่าน ดังนี้
• รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น ประจำปี 2565 ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาวิจัยด้านพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับใช้งานด้านพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) และวัสดุทางการแพทย์ (Biomaterials)
.
• รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2565 จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
    – รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาวิจัยด้านวัสดุพลังงาน โดยเน้นวัสดุเพอรอฟสไกต์ (Perovskite) สำหรับการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์เซนเซอร์
    – รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยด้านวัสดุสำหรับก๊าซและเคมีเซนเซอร์ สำหรับการค้นหาวัสดุที่มีความสามารถตอบสนองและเลือกตอบสนองตอบก๊าซ/เคมี/โมเลกุลเป้าหมาย
    – ดร.พินิจ กิจขุนทด สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ทำการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาเทคนิคและการศึกษาโครงสร้างของวัสดุขั้นสูง ด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (X-Ray absorption spectroscopy) จากแสงซินโครตรอน
.
• รางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี 2565 จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
    – ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ทวี ตันฆศิริ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้าน อิเล็กโทรเซรามิกส์ในกลุ่มของวัสดุที่มีการจัดเรียงอะตอมในแบบเพอร์รอฟสไกด์ และ Bio-Ceramics
    – ศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึกษาวิจัยด้านวัสดุซีเมนต์และคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสารปอซโซลานและวัสดุซีเมนต์จากวัสดุเหลือทิ้ง และการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์
.
การมอบรางวัลรางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัล เชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี พ.ศ. 2565 จะจัดขึ้นในงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th Materials Research Society of Thailand International Conference (MRS-Thailand 2023) ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 – 4 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.
ข่าวโดย : สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่