มช. อันดับที่ 108 ของเอเชีย อันดับที่ 23 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 3 ของประเทศไทย จากการอันดับ QS Asia University Rankings 2025

มช. อันดับที่ 108 ของเอเชีย อันดับที่ 23 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 3 ของประเทศไทย จากการอันดับ QS Asia University Rankings 2025

มช. อันดับที่ 108 ของเอเชีย อันดับที่ 23 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และอันดับ 3 ของประเทศไทย
จากการอันดับ QS Asia University Rankings 2025

.

 

…………..มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับที่ 108 ของเอเชีย อันดับที่ 23 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย จากการอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย QS Asia University Rankings ประจำปี 2025 โดยสำนักจัดอันดับ Quacquarelli Symonds (QS) ประกาศผลเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีสถาบันเข้าร่วมจัดอันดับทั้งสิ้น 984 สถาบัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 129 สถาบัน

…………..การจัดอันดับ QS Asia University Rankings มีตัวชี้วัดทั้งหมด 11 ตัวชี้วัด โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับ Top 60 ของเอเชีย ในด้านความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic Reputation) อันดับที่ 58 ดีขึ้น 2 อันดับ ได้คะแนน 80.8 เพิ่มขึ้นถึง 20.6 คะแนน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด ร้อยละ 30 ทั้งนี้ ในส่วนคะแนนในด้านอื่น ๆ  มช. ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นในทุก ตัวชี้วัด รวมทั้งคะแนนรวม (Overall Score) ของมช. ได้คะแนน 55.3 เพิ่มขึ้น 12.7 คะแนน รายละเอียดดังนี้

.

 

…………..สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้รับการจัดอันดับของเอเชีย มีทั้งหมด 34 สถาบัน ซึ่งในปีนี้มีมหาวิทยาลัยไทยได้รับการจัดอันดับเพิ่มขึ้น 9 สถาบัน โดย 9 อันดับแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

 

…………..สัดส่วนน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกัน คะแนนเต็ม (Overall 100%) ประกอบด้วย

…………..…………..1) Academic Reputation: ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ (30%)

…………..…………..2) Employer Reputation: การเป็นที่ยอมรับจากนายจ้าง (20%)

…………..…………..3) Faculty Student: สัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษา (10%)

…………..…………..4) Staff with PhD: อาจารย์และนักวิจัยที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก (5%)

…………..…………..5) Citations per Paper: การอ้างอิงต่อผลงานวิชาการ (10%)

…………..…………..6) Papers per Faculty: ผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (5%)

…………..…………..7) International Research Network: เครือข่ายการวิจัยนานาชาติ (10%)

…………..…………..8) International Faculty: สัดส่วนของอาจารย์ชาวต่างชาติ (2.5%)

…………..…………..9) International Students: สัดส่วนของนักศึกษาชาวต่างชาติ (2.5%)

…………..…………..10) Inbound Exchange Students: สัดส่วนของนักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติ (2.5%)

…………..…………..11) Outbound Exchange Students: สัดส่วนของนักศึกษาที่ไปแลกเปลี่ยนต่างชาติ (2.5%)

 

ติดตามข้อมูลการจัดอันดับเพิ่มเติมได้ที่ https://www.topuniversities.com/asia-university-rankings