มช. มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน อันดับที่ 74 ของโลก จากการจัดอันดับ THE Impact Rankings 2023 และครองอันดับ 1 ของไทย 2 ปีซ้อน ใน SDG 13 Climate Action

มช. มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน อันดับที่ 74 ของโลก จากการจัดอันดับ THE Impact Rankings 2023 และครองอันดับ 1 ของไทย 2 ปีซ้อน ใน SDG 13 Climate Action

มช. มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน อันดับที่ 74 ของโลก จากการจัดอันดับ THE Impact Rankings 2023 และครองอันดับ 1 ของไทย 2 ปีซ้อน ใน SDG 13 Climate Action

 

                     เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 The Times Higher Education Impact Rankings 2023 ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคม จาก 1,591 มหาวิทยาลัยทั่วโลก ทั้งนี้การจัดอันดับดังกล่าวใช้เกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs)

                     โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับที่ 74 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย คะแนนรวม 89.7 คะแนน จาก 100 คะแนน จากมหาวิทยาลัยไทยที่ได้รับการจัดอันดับ จำนวน 65 แห่ง ซึ่งจากผลการจัดอันดับสะท้อนถึงการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะยังคงมุ่งมั่นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13

 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีผลงานที่โดดเด่นตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ SDG ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ติดอันดับ ดังนี้

 

                     SDG 17 Partnership for the Goals: สร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อันดับที่ 14 ของโลก จาก 1,625 มหาวิทยาลัย อันดับดีขึ้น 65 อันดับ และเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ

                     SDG 13 Climate Action: การดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน อันดับที่ 33 ของโลก จาก 735 มหาวิทยาลัย อันดับดีขึ้น 17 อันดับ และครองอันดับที่ 1 ของไทย 2 ปีติดต่อกัน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ติดอันดับตามเป้าหมายของ SDG 50 อันดับแรกของโลก จำนวน 3 SDGs ได้แก่

 

และติดอันดับ 100 อันดับแรกของโลก จำนวน 7 SDGs ได้แก่

                     SDG 15 Life on Land: ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก อันดับที่ 59 ของโลก ดีขึ้น 19 อันดับ จาก 586 มหาวิทยาลัย

                     SDG 7 Affordable and Clean Energy: ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของตน อันดับที่ 64 ของโลก ดีขึ้นจากปีก่อนที่ได้อันดับ 101-200 จาก 812 มหาวิทยาลัย

                     SDG 1 No Poverty: ขจัดความยากจน อันดับที่ 64 จาก 876 มหาวิทยาลัย

                     SDG 3 Good Health and Wellbeing: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี อันดับที่ 66 ของโลก ดีขึ้นจากปีก่อนที่ได้อันดับ 101-200 จาก 1,218 มหาวิทยาลัย

                     SDG 2 Zero Hunger: ขจัดความอดอยากสร้างความมั่นคงทางอาหาร อันดับที่ 66 ของโลก ดีขึ้น 2 อันดับ จาก 647 มหาวิทยาลัย

                     SDG 12 Responsible Consumption and Production: สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน อันดับที่ 68 ของโลก ดีขึ้น 3 อันดับ จาก 674 มหาวิทยาลัย

                     SDG 4 Quality Education: ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ อันดับที่ 70 ของโลก ดีขึ้นจากปีก่อนที่ได้อันดับ 101-200 จาก 1,304 มหาวิทยาลัย

 

                     อีกทั้ง ในส่วนของบทบาทการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับอีกทั้งหมด 7 SDGs ดังนี้ SDG 6, SDG 8, SDG 9, SDG 11 อยู่ในอันดับที่ 101 – 200 ของโลก โดย SDG 6 มช. เข้ารับการจัดอันดับเป็นปีแรก SDG 16 อันดับที่ 201 – 300 ของโลก และ SDG 10 อันดับที่ 401-600 ของโลก

                     และ มช. ได้จัดทำเว็บไซต์ https://sdgs.cmu.ac.th/ เพื่อเป็นแพลทฟอร์มกลางในการนำเสนอผลงานจากคณะและหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อต่อประชาคมโลก โดยในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวิสัยทัศน์เป็น “มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่ออสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีเป้าหมายวิสัยทัศน์ไปสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามแนวทางของ THE Impact Rankings อยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก และมหาวิทยาลัยได้มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs สนับสนุนการศึกษารูปแบบใหม่ ผลักดันการนำเทคโนโลยี มาพัฒนาการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

                     ทั้งนี้ การที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับโลกที่ดีขึ้นในแต่ละปีนั้น สะท้อนถึงการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และการร่วมแรงร่วมใจกันของทุกส่วนงาน ทั้งคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชน และร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนผ่านการเรียนการสอน การวิจัยและบริการสังคม รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งระดับภูมิภาค และระดับประเทศในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไปสู่การปฏิบัติอย่างบูรณาการเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

                     มหาวิทยาลัยขอขอบคุณ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ที่ร่วมด้วยช่วยกัน ในการขับเคลื่อน มช. สู่มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน

 

สามารถติดตามผลการจัดอันดับเพิ่มเติม: https://www.timeshighereducation.com/impactrankings

สำนักงานบริหารงานวิจัย

วันที่ 2 มิถุนายน 2566