ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักวิจัย มช. ที่ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2023 โดย Stanford University

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักวิจัย มช. ที่ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2023 โดย Stanford University

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักวิจัย มช. ที่ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก

World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2023

โดย Stanford University

 

……………………เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เผยแพร่ข้อมูลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก ในสาขาวิชาต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 174 สาขาย่อย ตามมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของ Science-Metrix โดยมาจากการศึกษาเรื่อง “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators” ในวารสารวิชาการนานาชาติ PLOS BIOLOGY ซึ่งใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย (citations, h-index, co-authorship adjusted hm-index, citations to papers in different authorship positions and a composite indicator (c-score)

……………………โดยแบ่งรายชื่อนักวิทยาศาสตร์และการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภท (การจัดอันดับดังกล่าว ได้ใช้ข้อมูลการถูกอ้างอิง (citation) ของบทความวิชาการในฐานข้อมูล Scopus ของนักวิจัย ปรับปรุงเป็นข้อมูลล่าสุด วันที่ 1 ตุลาคม 2566) แบ่ง 2 ประเภท คือ

……………………1. ผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) โดยใช้ข้อมูลถึงสิ้นปี ค.ศ. 2022 ซึ่งมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในปีนี้ 204,643 ท่าน ในไทย 230 ท่าน โดยมีอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับ 14 ท่าน จาก 10 สาขา (sub-field)

……………………2. ผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี ค.ศ. 2022 สูงที่สุด (citation impact during the single calendar year 2022) ซึ่งมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในปีนี้ 210,198 ท่าน ในไทย 341 ท่าน โดยมีอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับ 32 ท่าน จาก 21 สาขา (sub-field)

 

 

 

 

 

  • กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ติดอันดับ ประเภท ผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) จำนวน 14 ท่าน ได้แก่

1. ศ.เกียรติคุณ ดร.เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม คณะเกษตรศาสตร์ สาขา Agronomy & Agriculture
2. ศ.เกียรติคุณ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Analytical Chemistry
3. ศ.ดร.อานนท์ ชัยพานิช คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Applied Physics
4. ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม คณะแพทยศาสตร์ สาขา General & Internal Medicine
5. ศ.ดร.สุเทพ สวนใต้ คณะวิทยาศาสตร์ สาขา General Mathematics
6. ศ.ดร.พรงาม เดชเกรียงไกรกุล คณะแพทยศาสตร์ สาขา Oncology & Carcinogenesis
7. ศ.เกียรติคุณ ดร.ทวี ตันฆศิริ คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
8. ศ.เกียรติคุณ ดร.สมชาย ทองเต็ม คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
9. ศ.ดร.สุพล อนันตา คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
10. รศ.ธิติพันธุ์ ทองเต็ม คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
11. รศ.ดร.สุคนธ์ พานิชพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
12. Hung T. Nguyen คณะเศรษฐศาสตร์ สาขา Artificial Intelligence & Image Processing
13. Dr.Paul Gordon Patterson คณะบริหารธุรกิจ สาขา Marketing
14. Louis Lebel คณะสังคมศาสตร์ สาขา Environmental Sciences

 

  • กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ติดอันดับ ประเภท ผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี ค.ศ. 2022 สูงที่สุด จำนวน 32 ท่าน ได้แก่

1. รศ.ดร.กรธัช อุ่นนันกาศ คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Analytical Chemistry
2. ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) พญ.ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ คณะแพทยศาสตร์ สาขา Anatomy & Morphology
3. ศ.ดร.อานนท์ ชัยพานิช คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Applied Physics
4. Prof. Hung T. Nguyen คณะเศรษฐศาสตร์ สาขา Artificial Intelligence & Image Processing
5. รศ.ดร.ภาสิทธิ์ เจริญขวัญ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สาขา Bioinformatics
6. ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร คณะแพทยศาสตร์ สาขา Cardiovascular System & Hematology
7. ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ทพญ.ดร.สิริพร ฉัตรทิพากร คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขา Cardiovascular System & Hematology
8. ศ.เกียรติคุณ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ สาขา Dairy & Animal Science
9. ศ.ดร.นคร ทิพยาวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา Energy
10. รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Entomology
11. Dr. Louis Lebel คณะสังคมศาสตร์ สาขา Environmental Sciences
12. รศ.ดร.Hien Van Doan คณะเกษตรศาสตร์ สาขา Fisheries
13. ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม คณะแพทยศาสตร์ สาขา General & Internal Medicine
14. ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ สาขา General & Internal Medicine
15. รศ.นพ.ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์ สาขา General & Internal Medicine
16. ศ.ดร.สุเทพ สวนใต้ คณะวิทยาศาสตร์ สาขา General Mathematics
17. Dr.Gopinath Kasi คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขา Inorganic & Nuclear Chemistry
18. Prof.Dr.Paul Gordon Patterson คณะบริหารธุรกิจ สาขา Marketing
19. ศ.เกียรติคุณ ดร.สมชาย ทองเต็ม คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
20. รศ.ธิติพันธุ์ ทองเต็ม คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Materials
21. รศ.ดร.สุคนธ์ พานิชพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ (retired) สาขา Materials
22. ศ.เกียรติคุณ ดร.สายสมร ลำยอง คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Mycology & Parasitology
23. รศ.ดร.อิทธญากรณ์ พรหมพุทธา คณะวิทยาศาสตร์ สาขา Mycology & Parasitology
24. ดร.สินาง หงสนันทน์ สำนักงานบริหารงานวิจัย สาขา Mycology & Parasitology
25. Dr. Sue Turale คณะพยาบาลศาสตร์ สาขา Nursing
26. ศ.ดร.ศิริพร โอโกโนกิ คณะเภสัชศาสตร์ สาขา Pharmacology & Pharmacy
27. รศ.ดร.ภก.ไชยวัฒน์ ไชยสุต คณะเภสัชศาสตร์ สาขา Pharmacology & Pharmacy
28. รศ.ดร.ชุดา จิตตสุโภ คณะเภสัชศาสตร์ สาขา Pharmacology & Pharmacy
29. Dr. Bhagavathi Sundaram Sivamaruthi สำนักงานบริหารงานวิจัย สาขา Pharmacology & Pharmacy
30. Dr. Periyanaina Kesika สำนักงานบริหารงานวิจัย สาขา Pharmacology & Pharmacy
31. ศ.ดร.พรชัย ราชตนะพันธุ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขา Polymers
32. รศ.ดร.รัตนา ทรัพย์บำเรอ คณะแพทยศาสตร์ สาขา Toxicology

 

 

เอกสารอ้างอิง

Ioannidis, John P.A. (2023), “October 2023 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Elsevier Data Repository, V6, doi: 10.17632/btchxktzyw.6

 

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://elsevier.digitalcommonsdata.com/datasets/btchxktzyw/6