พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่มีความร่มรื่น และการเดินทางไปยังอาคารต่าง ๆ สามารถทำได้โดยไม่ลำบาก มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนการเดินเท้าในมหาวิทยาลัย สำหรับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่เข้ามาสัญจรในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย การสร้างทางเท้าสำหรับคนที่ไม่รีบร้อน หรือชอบเดินภายในมช. เป็นทางเท้าที่ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับทุกคนที่ต้องการเดินทางไปยังสถานที่ใกล้เคียงด้วยการเดิน ลดจำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในมหาวิทยาลัย
โดยมหาวิทยาลัยยังมีแผนในการทำทางเท้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัย โดยแบ่งการออกแบบเท้า 2 แบบ ประกอบด้วย ทางเท้าแบบไม่มีหลังคาคลุม และทางเท้าที่มีหลังคาคลุม (coverway)
– ทางเท้าแบบไม่มีหลังคาคลุมจะอยู่ควบคุมกับ ringroad รอบมหาวิทยาลัย แล้วแจกเป็นกิ่งย่อยไปสู่อาคารเรียน/พื้นที่ทำกิจกรรม/พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ
– ทางเท้าแบบมีหลังคาคลุม (coverway) จะเชื่อมอยู่โซนกลางมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนของหอพักเชื่อมต่อกับอาคารเรียนรวม หอสมุด และสำนักทะเบียน
ซึ่งทางเท้าทั้งสองรูปแบบยังสัมพันธ์กับสถานีจุดจอดรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถเดินทางอาคารไปยังขนส่งสาธารณะของมหาวิทยาลัยได้ มีแผนผังทางเท้าทั้งที่มีอยู่ปัจจุบันและแผนในอนาคตดังนี้ (กองอาคารให้ข้อมูลและแผนผัง)
ทั้งนี้ สำหรับการออบแบบทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกทางเท้าภายใน มช. มีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
- ออกแบบผังทางเดินรอบมหาวิทยาลัยใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สัญจรไปมาได้ดียิ่งขึ้น
- การสร้าง ขยาย และ/หรือซ่อมแซมทางเท้า โดยเฉพาะทางเท้าที่มีรูและทางเท้าขรุขระ และทางเดินที่มีหลังคา
- ออกแบบให้มีการแบ่งแยกระหว่างทางเดินเท้าและเลนจักรยานอย่างชัดเจน เพื่อรองรับการจราจรหนาแน่น
- การซ่อมแซมหรือทาสีทางม้าลาย
และนอกจากทางเดินเท้าภายในมหาวิทยาลัย ยังได้เปิดให้ใช้บริการทางเชื่อมต่อ Sky walk เพื่ออำนวยความสะดวก สบาย ลดระยะเวลาในการเดินไปยังอาคารต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ ทั้งบุคลากร และประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งตลอดเส้นทางเดินนั้นจะมีหลังคาคลุมตลอดทางให้ร่มเงา ไม่ร้อนไม่เปียกฝน พื้นที่ทางเดินกว้างขวาง และยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางลดปัญญาการจราจรติดขัด ตลอดจนช่วยการดูแลความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย
SDG ที่เกี่ยวข้อง: