ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักวิจัย มช. ที่ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2022 โดย Stanford University

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักวิจัย มช. ที่ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2022 โดย Stanford University

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักวิจัย มช. ที่ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก “World’s Top 2% Scientists” ประจำปี 2022 โดย Stanford University

 

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เผยแพร่ข้อมูลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก ในสาขาวิชาต่างๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 176 สาขาย่อย โดยมาจากการศึกษาเรื่อง “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators” ในวารสารวิชาการนานาชาติ PLOS BIOLOGY ซึ่งใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย (citations, h-index, co-authorship adjusted hm-index, citations to papers in different authorship positions and a composite indicator (c-score))

 

โดยแบ่งรายชื่อนักวิทยาศาสตร์และการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภท (การจัดอันดับดังกล่าว ได้ใช้ข้อมูลการถูกอ้างอิง (citation) ของบทความวิชาการในฐานข้อมูล Scopus ของนักวิจัย ปรับปรุงเป็นข้อมูลล่าสุด วันที่ 1 กันยายน 2565) แบ่ง 2 ประเภท คือ

  1. ผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) โดยใช้ข้อมูลถึงสิ้นปี ค.ศ. 2021 ซึ่งมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในปีนี้ 195,605 ท่าน ในไทย 223 ท่าน
  2. ผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี ค.ศ. 2021 สูงที่สุด (citation impact during the single calendar year 2021) ซึ่งมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในปีนี้ 200,409 ท่าน ในไทย 307 ท่าน

 

สำหรับประเภท Career-long

มีอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับ 16 ท่าน จาก 10 สาขา (sub-field)

 

และสำหรับประเภท Single year impact 2021

มีอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับ 28 ท่าน จาก 17 สาขา (sub-field)

 

เอกสารอ้างอิง

Ioannidis, John P.A. (2022), “September 2022 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators”, Mendeley Data, V4, doi: 10.17632/btchxktzyw.4

ข้อมูลโดย สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่